การบริหารจัดการ
มูลฝอยติดเชื้อโควิด-19
“โควิด-19” ยัง “ไม่จบ”ปี 2564 “กรุงเทพธนาคม”
ด่านหน้า...ร่วมฝ่าวิกฤติ
ปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นปีที่นับได้ว่าเป็นหน้าประวัติศาสตร์สำคัญที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการเก็บข้อมูลมา จากการระบาดของโคโรนาไวรัส โควิด-19 ระลอกที่ 3 ส่งผลให้ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตทั้งประเทศพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 มาจนถึงช่วงกันยายน 2564 จากผู้ป่วยหลักพันเพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นต่อวันอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยสะสมถึงสิ้นเดือนกันยายน 2564 กว่า 1.6 ล้านคน และเสียชีวิตสะสมกว่า 16,000 คน สร้างความสูญเสียและส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านระบบสาธารณสุขสถานพยาบาลต่างๆ ไม่เพียงพอรองรับในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น ปริมาณขยะติดเชื้อก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในฐานะผู้รับผิดชอบการดำเนินการจัดเก็บและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้มีบทบาทอันสำคัญยิ่ง ถือเป็นหนึ่งในกำลังหลักของบุคคลากรด่านหน้าในการจัดเก็บและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องปรับการทำงานเพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น โดยได้มีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่และจัดรอบรถเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อให้ทันต่อสถานการณ์ จากเดิมที่เข้าจัดเก็บในสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ รวม 5,509 แห่ง เพิ่มขึ้นเป็น 5,824 แห่ง เพิ่มการจัดสายรถจัดเก็บขยะติดเชื้อจากเดิม 30 สายเพิ่มเป็น 45 สาย โดยมีเป้าหมายสำคัญคือจะต้องไม่มีขยะติดเชื้อตกค้าง ในสถานพยาบาล ตลอดจน สถานที่กักตัวรักษาพยาบาลผู้ป่วยตามอาการ ทั้งในรูปแบบของ Hospitel โรงพยาบาลสนาม จุดพักคอย ตลอดจนสถานที่จัดทำ bubble and Seal เช่น แคมป์คนงานก่อสร้าง ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคโดยเคร่งครัด
มาตรการเร่งด่วนในการบริหารจัดการขยะติดเชื้อโควิด-19
เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่จัดหาพนักงานเก็บขนอีก 20 คน /พนักงานขับรถอีก 10 คน
เพิ่มสายการเก็บขนจากเดิม 30 สายเป็น 45
สาย จัดหารถจัดเก็บขยะเพิ่ม (ใช้วิธีเช่า)
เปิดเดินระบบเตาเผาตลอด 24 ชั่วโมง และจัดทีมช่างบำรุงรักษาเตา ไม่ให้เกิดการชำรุด
การเพิ่มขึ้นอย่างมากของขยะติดเชื้อ จากสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บขยะติดเชื้อที่บริษัทฯดำเนินการอยู่ในสภาวะปกติที่ เฉลี่ย 60 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 100 ตันต่อวัน โดยนำเข้าสู่โรงงานกำจัดขยะติดเชื้อของบริษัทฯ จนเต็มประสิทธิภาพ
ปัจจุบันเตาเผาขยะติดเชื้อของบริษัทฯ
3 แห่งที่เปิดเดินระบบ ตั้งอยู่ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอย
อ่อนนุช ทั้งหมด
ประกอบด้วย
จำนวน 2 เตา
กำจัดขยะได้รวม30 ตัน/วัน
จำนวน 2 เตา
กำจัดขยะได้รวม20 ตัน/วัน
จำนวน 2 เตา
กำจัดขยะได้รวม30 ตัน/วัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของขยะติดเชื้อส่วนเกินจากกำลังการบริหารจัดการของบริษัทฯ ทางกรุงเทพมหานคร ได้นำเข้าสู่ระบบกำจัดด้วยวิธีเผาไหม้ ที่โรงงานกำจัดมูลฝอยหนองแขม โดยบริษัทฯ ได้มีการบริหารจัดการขยะให้สอดรับกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร โดยประสานข้อมูลกับสำนักสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
สถานการณ์ล่าสุด แม้ว่าในช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 สถิติผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครจะมีแนวโน้มลดลง และมีการปรับเปลี่ยนปิดศูนย์พักคอยและสถานกักโรคบางส่วน แต่ยังคงต้องเฝ้าระวัง นอกจากนี้ถึงแม้สถิติผู้ป่วยจะลดลง แต่พบว่าปริมาณขยะติดเชื้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงอันหมายถึงภารกิจของบริษัทฯยังคงหนักหน่วงต่อเนื่องไปอีกระยะ เนื่องจากยังคงมีมาตรการเฝ้าระวัง การป้องกันต่างๆ ที่ยังส่งผลให้มีปริมาณขยะติดเชื้อมากขึ้นจากภาวะปกติ เช่น ขยะหน้ากากอนามัย ขยะชุดตรวจ ATK (Antigen test kit) ซึ่งชุดตรวจที่จะนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลายมากขึ้นนั้น จะกลายมาเป็นขยะติดเชื้อที่ต้องนำเข้าสู่ระบบการกำจัดที่เป็นมาตรฐานของบริษัทฯต่อไป
" ในการต่อสู้กับสงครามโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ บริษัทฯยังคงร่วมทำหน้าที่กับหน่วยงานด่านหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็ง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของประชาชนชาวกรุงเทพฯ "