ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนเพื่อผลิตพลังงานขนาดไม่น้อยกว่า 800 ตันต่อวัน | ||||
หน่วยงานคู่สัญญา | กรุงเทพมหานคร | ||||
ระยะเวลา | เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2560 (ระยะเวลา 20 ปี) | ||||
งบประมาณ | วงเงินงบประมาณ 3,504,000,000 บาท |
รายละเอียดโครงการ |
ลักษณะ/ขอบเขตงาน |
กรุงเทพมหานครจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชน โดยจะสรรหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์ประกอบมูลฝอยชุมชนของกรุงเทพมหานคร ทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จึงได้นำเสนอการจัดการมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยีเชิงกล-ชีวภาพ (MBT: Mechanical Biological Treatment) เพื่อเป็นโครงการนำร่องซึ่งประกอบด้วยกระบวนการหมักมูลฝอยทิ้งรวมแบบเปียก (Wet Anaerobic Digestion) เพื่อให้ได้น้ำหมักมูลฝอยที่มีความเข้มข้นสูงสำหรับนำไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับกากของแข็งจะนำคัดแยกเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงขยะ (RDF) โดยการแปรรูปมูลฝอยเพื่อนำผลพลอยได้จากการแปรรูปมูลฝอยแบบบูรณาการกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดทั้งในรูปการผลิตพลังงานโดยตรง ซึ่งเป็นการลดปริมาณมูลฝอยที่จะต้องนำไปฝังกลบลงให้มากที่สุด เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่และเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ภาพรวมการดำเนินงาน
|
การดำเนินงาน
กทม.ได้ส่งมอบพื้นที่ให้บริษัทเข้าไปดำเนินงานเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ซึ่งทางบริษัทได้ดำเนินการ
- ปรับพื้นที่และถมดินแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2561
- ก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จเในเดือนธันวาคม 2562
- ทดสอบระบบแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2563
- เริ่มเดินระบบในวันที่ 2 มีนาคม 2563
โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน ดังนี้
- เพื่อแก้ปัญหาการกำจัดมูลฝอยชุมชนของกทม.โดยใช้เทคโนโลยีทางกล-ชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เพื่อใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นจากการกำจัดมูลฝอยชุมชนในรูปพลังงานไฟฟ้า
- เพื่อลดพื้นที่ฝังกลบซึ่งหาค่อนข้างยากทั้งในกทม. และต่างจังหวัด
- เพื่อลดปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย
- เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น CO2, มีเทน เป็นต้น
- เพื่อเป็นโครงการต้นแบบในการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืน และสนับสนุนนโยบายพลังงานทดแทนของภาครัฐ
หลักการทำงานของระบบ
กระบวนการทำงานของระบบการกำจัดมูลฝอยชุมชน ดังมีรายละเอียด คือ
- มูลฝอยชุมชนที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครวันละ 800 ตันต่อวัน จะถูกขนส่งเข้าโรงงานและผ่านเครื่องบดย่อยขนาดแบบหยาบโดยสามารถลดขนาดมูลฝอยชุมชนไม่เกิน 30 เซนติเมตร
- มูลฝอยชุมชนที่บดหยาบแล้วจะเคลื่อนเข้าสู่เครื่องคัดขนาด โดยจะแยกมูลฝอยชุมชนออกเป็น 3 ขนาด คือ
- มูลฝอยชุมชน Size S : เล็กกว่า 6 เซนติเมตร
- มูลฝอยชุมชน Size M : ระหว่าง 6-14 เซนติเมตร
- มูลฝอยชุมชน Size L : ระหว่าง 14-30 เซนติเมตร - มูลฝอยชุมชน ขนาด Size S ผ่านเครื่องแยกโลหะ, แก้ว, หิน, ดิน, ทราย โดยมูลฝอยชุมชนที่ผ่านเครื่องแยกเข้าสู่ถังเก็บแล้วป้อนเข้าสู่ KOMPOGAS Digestion Plant ซึ่งมี 6 หน่วยกำลังการผลิต 240 ตันต่อวัน ซึ่งจะเกิดกระบวนการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจนขึ้น โดยใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลาย ซึ่งผลที่ได้คือ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีมีเทนเป็นองค์ประกอบหลักและสามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ขนาด 2.7 MW นอกจากนี้ระบบการหมักไร้อากาศยังให้ปุ๋ยน้ำซึ่งจะนำไปทำสารปรับปรุงคุณภาพดินในโรง Composting
- มูลฝอยชุมชน Size M และ Size L จะเคลื่อนผ่านเครื่อง Air Sifter ซึ่งจะใช้ในการแยกมวลสารเบา เช่น พลาสติกและกระดาษออกจากมวลสารหนักจำพวกเหล็ก โลหะ เป็นต้น โดย Air Sifter มี 2 ชุด สำหรับมูลฝอยชุมชนแต่ละขนาดแต่ละชุดมีความสามารถ 80 ตันต่อวัน โดยกระดาษและพลาสติกที่แยกได้จะนำเข้าเครื่องผลิต RDF และระบบสามารถแยกโลหะโดยส่วน Reject ที่ได้นำไปฝังกลบ ดังแผนภาพ
แผนผังการเดินระบบ
ที่ตั้งโครงการ |
แผนที่สถานีขนถ่ายมูลฝอยอ่อนนุช (โรงงานมูลฝอยชุมชนเพื่อผลิตพลังงานขนาด 800 ตัน/วัน) ซอยอ่อนนุช 86 ถนนอ่อนนุช แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ |
เพื่อผลิตพลังงานขนาดไม่น้อยกว่า 800 ตันต่อวัน