รถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) หรือ BRT เป็นระบบขนส่งมวลชนทางถนนรูปแบบหนึ่งที่กรุงเทพมหานครมุ่งมั่นเร่งรัดพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมุลค่าการลงทุนที่ต่ำกว่าและก่ออสร้างได้รวดเร็วกว่ารถไฟฟ้า แต่มีความสะดวกสบายแม้ใช้พื้นผิวถนนด้วยทางวิ่งเฉพาะ และเดินทางได้รวดเร็วด้วยระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อให้เป็นระบบรองที่สามารถเชื่อต่อเข้าสู่ระบบหลัก ทำใหการเดินทางของชาวกรุงเมทพมหานครครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
กรุงเทพมหานครได้เริ่มเปิดให้บริการโครงการตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ด้วยวิธีการว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2566 รวม 6 ปี 95 วัน โดยบริษัทได้ให้สิทธิเอกชนเป็นผู้เดินรถระยะเวลาสัญญา 6 ปี เริ่ม 1 กันยายน 2560 – 31 สิงหาคม 2566 ปัจจุบันโครงการมีรถโดยสารให้บริการ จำนวน 25 คัน ตลอดระยะทาง 15.9 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี กำหนดความถี่ในการเดินรถดังนี้
◉ ช่วงเร่งด่วนทุก 5 นาที |
◉ ช่วงไม่เร่งด่วนทุก 10 – 20 นาที |
เนื่องด้วยในช่วงปี 2563 - 2564 ที่ผ่านมาเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการหลายประการ คือ
1) ในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร มีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในระดับสูง เช่นเดียวกับการให้บริการรถไฟฟ้า เช่น การเว้นระยะห่าง การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคบริเวณจุดสัมผัส การบริการแอลกอฮอล์ให้แก่ผู้โดยสาร
2) ปริมาณผู้โดยสาร ในปีงบประมาณ 2564 ลดลง จากการให้บริการในช่วงปกติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน 2564
3) มีการปรับแผนการให้บริการเดินรถ ทั้งในเรื่องของความถี่การเดินรถและช่วงเวลาการให้บริการให้สอดคล้องกับมาตรการของภาครัฐในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19